Joomla 3.2 Template by Justhost Complaints
Vinaora Nivo Slider 3.xVinaora Nivo Slider 3.xVinaora Nivo Slider 3.xVinaora Nivo Slider 3.xVinaora Nivo Slider 3.x

 

ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตรกรรม   กลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพ

                     

            กลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพบ้านป่าโมงใหญ่ หมู่ที่ 10 เมื่อเริ่มต้นเป็นหมู่บ้านจัดการตนเองที่นำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ ทำให้พื้นที่บ้านป่าโมงใหญ่ หมู่ที่ 10 ต้องปฏิรูปแนวทางการทำกิน จากเดิมที่มีเคมีผสมอยู่ในพื้นที่ ก็ต้องร่วมมือกันปรับลด เพื่อสุขภาพชีวิตที่ดี ต้นทุนการผลิตที่ลดลง และสิ่งแวดล้อมดี สอดคล้องกับปรัชญาที่เลือกใช้ในการดำรงชีวิต  นายสายันต์  สาธุวงค์  รองประธานกลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพบ้านป่าโมงใหญ่ ย้อนความให้ฟังว่า เมื่อ กำนันวินัย  พันธ์คำ  หรือผู้ใหญ่บ้านในเวลานั้น ส่งเสริมหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้คนในหมู่บ้าน ไม่นานจากนั้นก็ส่งคนไปเรียนรู้การทำจุยชีวภาพในโครงการป่าดงนาทาม   อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ที่กรมทหารราบที่ 6 ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ อำเกอวาถิ่นชำาราบ เป็นเวลา 5 วัน  "ที่นั่นสอนหลายอย่าง ตั้งแต่การทำนา การลดต้นทุน ได้เจาะจงไปศึกษาเรื่องการทำปุ๋ย เพราะต้องนำกลับมาขยาย และสอนชาวบ้านให้รู้จักทำปุ๋ยใช้เอง  ปุ๋ยชีวภาพของกลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพบ้านป่าโมงใหญ่นั้น     ใช้แกลบมูลสัตว์ รำ ในสัดส่วนที่เท่ากัน เคล้ารวมกองให้เข้ากัน จากนั้นพักไว้ทำการขยาย EM ด้วยการใช้กากน้ำตาล และหัวเชื้อ EM อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ลงในน้ำ 20 ลิตร จากนั้นใส่บัวแล้วนำรดกอง คลุกให้เขากันพอหมาด สังเกตุโดยการกอบไว้ในกำมือ แล้วบีบกำ น้ำไม่ไหลออกจากมือก็เป็นใช้ได้ จากนั้นตักใส่กระสอบ มัดปากถุงให้แน่นจากนั้นเก็บในที่ร่ม 7 วัน ก็สามารถใช้ได้ โดยปุ๋ยถุงหนึ่งนั้นจะมีอายุ  4 เดือน

           ประเสริฐ ทาหาญ ประธานกลุ่ม เสริมว่า วิธีใช้ก็ไม่ยาก แค่โรย ปุ๋ยรองพื้น ก่อนหว่านหรือปักดำ ปัจจุบันกลุ่มผลิตปุยชีวภาพบ้านป่าโมงใหญ่มีสมาชิกราว 50คน ผลิตปุ๋ยขายให้กับสมาชิกเป็นหลัก เหลือก็แบ่งปันกันภายในตำบล   โดยกำนันวินัย พันธ์คำ อธิบายว่า ราคาไม่ได้ตายตัว สมมติว่า ตันทุนทำปุ๋ยรอบนั้น 20,000 บาท จากนั้นจะนำมาหารด้วยจำนวนกิโลกรัมที่ใด้ โดยทางคลุ่มจะเอากำไรไม่เกิน 2,000 บาท  แล้วเงินที่เก็บรวมได้ก็จะนำมาเป็นทุนการศึกษาให้กับเด็กในหมู่บ้านการดำเนินการของบ้านหมู่ที่ 10 นี้ สอดคล้องกับคำพูดของกำนันที่ว่า "เราต้องมีตู้เย็นข้างบ้าน พยาบาลใกล้ตัว ทุกครัวเรือนมีปุ๋ยให้"  ด้วยกำนันวินัย  มองวา บุ๋ยคือการผลิตปัจจัยที่สำคัญของชุมขน มีปุ๋ยดี อย่างอื่นก็ดีตาม ทั้งผลผลิต และค่าใช้ จ่าย สุขภาพและสิ่งแวดล้อม แถมเงินทุนก็ยังหมุนเวียนอยู่ในชุมคน

         โดยให้สมาชิกระดมทุน ๆ ละ 20 บาท เข้าเป็นสมาชิก  หลังจากนั้นนำเงินที่ได้จากการระดมทุนของสมาชิกซื้อวัตถุดิบในการทำปุ๋ย ขี้วัว แกลบ รำข้าว  จากคนในชุมชนเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนรายได้  แล้วนำมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ เพื่อขายและนำไปใช้ในการลดต้นทุนการผลิต และมีการศึกษาดูงานจาก 20        องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น     รวมทั้งสิ้น 600 คน

      

1111